ปกติแล้วฟิล์มทุกชนิดจะมีอายุการใช้งาน เต็มที่ก็ไม่เกิน2ปี เพราะเมื่อเกินอายุการใช้งานไปแล้วสารที่เคลือบฟิล์มอยู่ก็จะเสื่อมการทำงานลง
ทำให้มีสีที่จืดลงมั่งหละ

หรือไม่ก็จะสีขาวดำไปเลย

หรืออาจจะเป็นสีซีเปีย(สีที่เป็นโทนสีน้ำตาลทั้งภาพ)

หรือในรูปแบบต่างๆ

อย่างภาพนี้เค้าเรียกว่าภาพโลโม่(เป็นภาพที่สว่างตรงกลาง และด้านข้างทั้ง2ข้างจะออกมืด เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของฟิล์มเก่า ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก)

ภาพนี้เบลอทั้งภาพดูศิลป์ไปอีกแบบ

ภาพนี้ก็โลโม่อีกเช่นกัน(แต่เน้นไปในทางสีสด เพราะชดเชยแสงเอาไว้มากด้านข้างทั้ง2ข้างเลยไม่มืด)

ปกติแล้วกล้องจะถ่ายในแนวนอนพอนำภาพมาตั้งก็เลยกลายเป็นมืดด้านบนและด้านล่าง(อันนี้ก็โลโม่)สนามหลวงนะนี่

ภาพนี้มีลูกเล่นเพิ่มขึ้นมาอีกนิดหน่อย แบบนี้เค้าเรียกว่าการเก็บแสง ก็สวยไปอีกแบบ สภานที่ถ่ายคือวัดเจดีย์หลวงจังหวัดเชียงใหม่
ทำไมถึงต้องใช้ฟิล์มถ่ายทั้งๆที่คอมพิวเตอร์ก็สามารถทำให้เป็นภาพแบบนั้นได้??ทุกคนอาจจะสงสัยที่นี่มีคำตอบ เพราะภาพที่ภ่ายโดยกล้องดิจิตอลไม่ว่าจะรุ่นไหนความละเอียดสูงแค่ไหนก็ตาม เนื้อภาพจะเป็นการนำสีเหลี่ยมเล็กๆมาต่อกันที่เค้าเรียกกันว่า
พิกเซลนั่นแหละ ที่ว่าความละเอียด 1 ล้านพิเซล ก็คือการนำสี่เหลี่ยมมาต่อกัน 1 ล้านอันจนเกิดเป็นภาพขึ้มมา 1 ภาพ ยิ่งความละเอียนดสูงจำนวนสี่เหลี่ยมก็ยิ่งเห็นได้ยากขึ้นเพราะมันจะทับซ้อนกันมากขึ้นจนไม่สามารถมองเห็นได้
(แต่ลองขยายภาพดูในคอมพิวเตอร์แบบสุดๆซิ) ฉะนั้นที่เขาว่า 10 ล้านพิเซลภาพก็จะคมชัดมากขึ้น

อันนี้ 4 พิกเซล

อันนี้ 40 พิกเซล

อันนี้ 80 พิกเซล

อันนี้คือรูป 6 ล้านพิกเซลที่ขยายแบบสูงสุด (ตัดมาเฉพาะบางส่วน)

นี้คือรูปเต็ม
และรูปที่เกิดจากกล้องดิจิตอลจะไม่สามารถขยายได้สูงสุดเพราะเมื่อขยายสูงสุดก็จะได้ภาพอย่างที่ยกตัวอย่างมาให้ดู
แต่ฟิล์มไม่ใช่ ฟิล์มเป็นการบันทึกภาพลงบนพลาสติกที่เคลือบด้วยสารเคมี ภาพจะมีความคมชัดไม่ว่าจะขยายมากแค่ไหนก็จะไม่ขึ้นเป็นเหลี่ยมแบบกล้องดิจิตอล ฉะนั้นภาพที่ส่งประกวดโดยช่างภาพมืออาชีพส่วนใหญ่จะถ่ายด้วยฟิล์มทั้งนั้นเพราะเมื่อนำไปขยายจะได้ภาพที่ตรงกับภาพจริงทุกประการ
แต่ที่ไม่นำตัวอย่างภาพฟิล์มมาให้ดูก็เพราะจอคอมพิวเตอร์เป็นการประมวลผลและนำเสนอภาพแบบพิเซล(รูปอะไรก็ตามเมื่ออยู่ในคอมก็จะเป็นเหลี่ยมอยู่ดี)